ยินดีต้อนรับสู่ NWOW ไทยแลนด์ – แบรนด์รถจักรยานยนต์ไฟฟ้ายอดนิยมทั่วโลก
ความแตกต่างระหว่าง ลิเธียมไอออน กับ ลิเธียมฟอสเฟต แบตเตอรี่แบบไหนที่ตอบโจทย์การใช้งานรถไฟฟ้า
แบตเตอรี่ ถือเป็นส่วนสำคัญอย่างมากสำหรับใครก็ตามที่ใช้ จักรยานไฟฟ้า และในปัจจุบัน แบตเตอรี่ลิเธี่ยม ได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะไม่ต้องใช้น้ำมัน ทำให้เราลดค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังช่วยรักษาสภาพแวดล้อม แต่หลายคนทราบหรือไม่ว่าแบตเตอรี่ลิเธี่ยมที่ใช้นั้นมีกี่ประเภท แล้วแบตเตอรี่ ลิเธียมไอออน กับ ลิเธียมฟอสเฟต ต่างกันอย่างไร อะไรดีกว่าสำหรับรถมอเตอร์ไซค์ของคุณ
แบตเตอรี่ลิเธี่ยม คืออะไร?
แบตเตอรี่ลิเทียม หรือชื่อเต็ม ๆ คือ แบตเตอรี่ลิเธี่ยมไออน (Lithium Ion Battery) เป็นแบตเตอรี่คุณภาพสูงที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ (Rechargeable Battery) ซึ่งมีคุณสมบัติจ่ายไฟแรง และคงที่อยู่ตลอดเวลา อีกทั้งยังขึ้นชื่อเรื่องชาร์จเต็มไว ใช้งานได้นานกว่าแบตเตอรี่ชนิดอื่นๆ ใช้กันอย่างแพร่หลายในหลากหลายเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการเก็บประจุไฟมาก อาทิ หุ่นยนต์ดูดฝุ่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต รวมไปถึง แบตเตอรี่สำรอง (Power Bank)
และในวงการยานยนต์เอง แบตเตอรี่ลิเธี่ยมไออน ก็เริ่มถูกนำมาใช้งานมากขึ้น เนื่องจากมีน้ำหนักเบา อีกทั้งยังมีอายุการใช้งานนาน เพราะลิเธียมไอออนมีประจุไฟฟ้าที่สูงกว่า และเก็บประจุไฟฟ้าได้นานกว่าแบตเตอรี่ประเภทอื่น ทำให้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่นำแบตเตอรี่ชนิดนี้มาใช้ ก่อให้เกิดขุมพลังงานที่มีความเสถียร เป็นอีกหนึ่งในพลังงานทางเลือกที่จะเข้ามาแทนที่พลังงานเชื้อเพลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ถ้าหากจะจำแนกประเภทของ แบตเตอรี่ลิเธี่ยม นั้นต้องบอกว่ามีหลายประเภท เพื่อเป็นข้อมูลในการนำไปใช้และความปลอดภัยรวมถึงประสิทธิภาพสูงสุด มาดูกันว่า แบตเตอรี่ลิเธี่ยม มีกี่ประเภท และแต่ละประเภทเหมาะกับการใช้งานอะไรบ้าง
แบตเตอรี่ลิเธียมฟอสเฟต หรือชื่อเต็มคือ แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนฟอสเฟต เป็นแบตเตอรี่ลิเธี่ยมที่มีใช้ทั่วไปและใช้อยู่มากที่สุดซึ่งได้รับความนิยมในแวดวงยานยนต์ อาทิ มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า รถกอล์ฟ รถบัสไฟฟ้า รวมไปถึง โซล่าเซลล์
ซึ่งข้อดีของ ลิเธียมฟอสเฟต นั่นก็คือ ราคาไม่แพง มีความปลอดภัยสูง น้ำหนักเบา สามารถนำมาใช้ซ้ำได้ จุไฟฟ้าสูง จ่ายกระแสไฟได้แรง มีประสิทธิภาพด้านเคมีไฟฟ้าที่ดี ไม่ค่อยมีปัญหาด้านความร้อน แต่ก็มีข้อเสียอยู่เหมือนกันนะ อาทิ ลิเธี่ยมฟอสเฟตมีค่าพลังงานจำเพาะไม่สูง ใช้งานในที่ที่มีอุณภูมิต่ำประสิทธิภาพจะลดลง ไม่ค่อยเหมาะใช้งานที่มีการใช้งานแบบกระแสกระชากสูงๆ เช่น การสตาร์ทเครื่องยนต์
2.แบตเตอรี่ลิเธี่ยมโคบอลต์ออกไซด์ (Lithium Cobalt Oxide : LCO)
แบตเตอรี่ลิเธี่ยมโคบอลต์ออกไซด์ ข้อดีคือมีค่าพลังงานจำเพาะสูง สามารถจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ที่กินไฟต่ำได้นาน แต่จ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ที่กินไฟสูงได้ไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่ ถูกนำไปใช้ในหลากหลายอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ อาทิ กล้องถ่ายรูป โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต
3.แบตเตอรี่ลิเธี่ยมแมงกานิสออกไซด์ (Lithium Manganese Oxide : LMO)
แบตเตอรี่ลิเธี่ยมแมงกานิสออกไซด์ มีจุดเด่นที่สามารถชาร์จแบบเร็ว(fast charge) และจ่ายกระแสสูงได้ เหมาะกับการใช้งานในเครื่องมือที่ต้องการวัตต์สูง เช่น รถไฟฟ้าและรถไฮบริด บางรุ่น รวมถึงในอุปกรณ์ทางการแพทย์ แต่ข้อเสียของ ลิเธี่ยมแมงกานิสออกไซด์ คือ อายุการใช้งานสั้น ไม่ใช่สั้นธรรมดา ต้องบอกว่า สั้นที่สุดในบรรดาแบตเตอรี่ลิเธี่ยมทั้งหมดเลยก็ว่าได้
4.แบตเตอรี่ลิเธี่ยมนิเคิลแมงกานิสโคบอลต์ออกไซด์ (Lithium Nickel Manganese Cobalt Oxide : NMC)
NMC ถือเป็นการต่อยอดจาก LMO แบตเตอรี่ประเภทนี้ถูกนำมาใช้ในอุตสากรรมรถ EV รถยนต์ไฮบริด รวมถึงจักรยานไฟฟ้า เนื่องจากให้กำลังสูง เก็บพลังงานได้มาก มีอายุการใช้งานได้ยาวนาน มีสเถียรภาพ และทนต่ออุณหภูมิได้ดีมาก ซึ่งถูกนำมาใช้ในรถหลากหลายแบรนด์ อาทิ Tesla Model S, BMW i3, Chevloret Volt ซึ่งข้อด้อยของ NMC ก็คือมีแรงดันไฟฟ้าต่อเซลล์ต่ำกว่าแบตเตอรี่ลิเธี่ยมโคบอลต์ออกไซด์ LCO
ลิเธียมไอออน กับ ลิเธียมฟอสเฟต ต่างกันอย่างไร ?
ต้องบอกว่าโดยพื้นฐานแบตเตอรี่ทั้ง 2 ประเภท ต่างถูกนำมาใช้ในการเคลื่อนที่ของไอออนระหว่างขั้วไฟฟ้าเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งทั้งลิเธียมไอออน กับ ลิเธียมฟอสเฟต ต่างมีความหนาแน่นของพลังงานสูงมาก และยังมีความโดดเด่นในด้านต่าง ๆ ดังนี้
ความจุของพลังงาน
แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนมีความหนาแน่นอยู่ที่ประมาณ 150 Wh/kg ถึง 200 Wh/kg ในขณะที่แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนฟอสเฟตมีความหนาแน่นอยู่ที่ประมาณ 90 Wh/kg ถึง 120 Wh/kg แต่ถ้าต้องการใช้งานที่ต้องการพลังงานสูง แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนจึงเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า ส่วนในด้านความปลอดภัยต้องยกให้แบตเตอรี่ลิเธียมโซเดียมฟอสเฟต จะมีเสถียรภาพรวมถึงทนความร้อนได้ดีกว่า
วงจรชีวิต ลิเธียมไอออน VS ลิเธียมฟอสเฟต
แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน มีอายุการใช้งานประมาณ 500 - 1,000 รอบ เนื่องจากความไม่เสถียรของแบตเตอรี่ ในขณะที่ แบตเตอรี่ลิเธียมฟอสเฟต มีความเสถียรมากกว่าทำให้มีอายุการใช้งานมากกว่า 2,000 รอบ ทำให้ลิเธี่ยมฟอสเฟต ถูกนำไปเป็นแหล่งพลังงานให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้านั่นเองเพราะไม่ต้องชาร์จบ่อยๆ
พื้นที่จัดเก็บ
ด้านพื้นที่จัดเก็บแบตเตอรี่ลิเธียมโซเดียมฟอสเฟต มีอายุการเก็บรักษาประมาณ 350 วัน ในขณะที่แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน มีอายุการเก็บรักษาประมาณ 300 วัน แต่ไม่ว่าจะเป็นแบตเตอรี่แบบไหนถ้าหากทิ้งไว้โดยไม่ใช้งาน แบตเตอรี่ทั้งหมดก็จะสูญเสียประจุบางส่วน
และนี่คือความแตกต่างของแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน กับ แบตเตอรี่ลิเธียมฟอสเฟต ซึ่งแบตเตอรี่แต่ละชนิดต่างมีข้อดีข้อเสียต่างกันออกไป เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับประกอบการตัดสินใจซื้อรถสองล้อเอาไว้ใช้ และถ้าคุณกำลังมองหารถจักรยานยนต์ไฟฟ้า รถสามล้อไฟฟ้า เราขอแนะนำ NWOW เราคือผู้ผลิตและจัดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ทางเลือกใหม่ ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า 100% ในการขับเคลื่อน ช่วยลดปัญหามลพิษทางอากาศและทางเสียง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง line คลิก
Ref.
0995013731
021252093
สแกนเพื่อติดตาม
เราได้ที่ไลน์